บทคัดย่อ: กระแสเงินสดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของกิจการ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องเผชิญความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ทั้งจากสถานบันการเงิน และตลาดทุน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของ SMEs ในระยะยาว
TRBLOCKCHAIN เป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาโดยอาศัยจุดแข็งที่ SMEs
มาสร้างเป็นกระแสเงินสด เพิ่มยอดขาย และสร้าง Barrier of Entry ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงของผู้ให้เงินสนับสนุน
|
กระแสเงินสดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของกิจการ เนื่องจากธุรกิจจะนำเงินสดไปใช้จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการทำงานรายวัน (Daily Operation) สามารถหมุนเวียนไปได้
ในปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดย SMEs นี้มีจำนวนถึง 99.8% ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด และสามารถสร้างการจ้างงานถึง 82.2% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด อย่างไรก็ดี SMEs เหล่านี้ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากทั้งสถาบันการเงิน และตลาดหลักทรัพย์ ดังจะเห็นได้จากแผนภูมิในรูปภาพ 1
อย่างไรก็ดีจากผลการสำรวจของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า SMEs ประสบปัญหาจากภาระต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเป็นผลมากจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง โดยสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณาให้สินเชื่อและได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ SMEs สูงกว่าธุรกิจใหญ่ เนื่องจากสำหรับสถานบันการเงินแล้วต้นทุนการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ SMEs รวมถึงต้นทุนการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงบการเงินนั้นสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้แล้วในเชิงเปรียบเทียบ SMEs มีความเสียเปรียบต่อธุรกิจใหญ่เป็นอย่างมากในด้านต้นทุนของกระแสเงินสดที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
นอกเหนือจากสถาบันการเงิน ตลาดทุนก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับ SMEs ที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ อย่างไรก็ดีงานวิจัยของ KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร แสดงให้เห็นว่าทั้งนักลงทุนไทย และต่างประเทศให้ความสนใจตลาดทุนของไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยในไตรมาสที่ 1 ของ 2021 ยอดการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศของนักลงทุนไทยมีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 10 ปี รวมถึงตัวนักลงทุนต่างประเทศก็ทำการขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องในแทบทุกปี ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ดังนี้แล้วการเข้าถึงเงินทุนผ่านตลาดทุนจึงไม่ใช่ทางเลือกทีดีนัก
ในมุมด้านความสามารถในการแข่งขัน พบว่ากว่าร้อยละ 60 ของ SMEs สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้เล่นรายใหญ่ เนื่องจากการเผชิญข้อเสียเปรียบทั้งด้านต้นทุนและเทคโนโลยี อีกทั้งธุรกิจขนาดใหญ่มีสินค้าและบริการที่ทันสมัย หลากหลาย ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น ระบบการผ่อนชำระ เป็นต้น
ด้วยปัจจัยตามที่กล่าวข้างต้น SMEs ในประเทศไทยเกือบร้อยละ 80 เลือกใช้ที่จะใช้ “การแข่งขันด้านราคา” ซึ่งนำไปสู่ วงจรอุบาทว์ของ SMEs (รูปภาพ 2) ที่ทำให้ SMEs ลดต้นทุนด้วยการใช้วัสดุคุณภาพต่ำซึ่งนำไปสู่การลดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ในระยะยาว
รูปภาพ 2: วงจรอุบาทว์ของ SMEs
TRBLOCKCHAIN ถูกจัดตั้งขึ้นโดย บริษัท ที.อาร์. สยามภัณฑ์ จำกัด โดยมีพันธกิจในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปฏิรูปวิธีการดำเนินธุรกิจ ผ่านการให้บริการแบบ Blockchain as a Service (Baas) เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันผ่านการสร้างความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) และสร้างสิ่งกีดขวางการแข่งขันจากหน่วยธุรกิจอื่นๆ (Barrier of Entries) ใหักับผู้ใช้บริการ โดยอาศัยจุดแข็งเดิมของ SMEs ที่มีความใกล้ชิดกับคู่ค้าโดยตรงได้มากกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ นำมาสร้างเป็นระบบคูปองสินค้าเพื่อเป็นการเพิ่มกระแสเงินสดระยะสั้น ทั้งยังสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและบริการของ SMEs ซ้ำ
2.1 ข้อมูลของโทเคนดิจิทัลระบบโทเคนดิจิทัลชุดหนึ่งจะถูกกำหนดโดยสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ที่อยู่บน blockchain โดยสัญญาอัฉจริยะสำหรับโทเคนดิจิทัลที่อยู่บน TRBLOCKCHAIN จะอ้างอิงจากมาตรฐาน ERC-20 และมีการเพิ่มเงื่อนไขเพื่อหักค่าดำเนินการทุกครั้งที่มีการส่งผ่านโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ จำนวนของโทเคนดิจิทัลแต่ละชุดมีจำนวนจำกัด ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อมีการสร้างสัญญาอัจฉริยะ และไม่สามารถถูกสร้างเพิ่มเติมหรือทำลายได้หลังจากนั้น สำหรับโทเคนดิจิทัล TRCOIN จะมีรายละเอียดดังตาราง 1
ชื่อของโทเคนดิจิทัล | TRCOIN |
เว็บไซต์ | https://www.trblockchain.co |
ชื่อย่อของโทเคนดิจิทัล | TRC |
หน่วยนับ | TRC |
ประเภทโทเคนดิจิทัล | Utility Token with Exclusive Condition |
จำนวนโทเคนดิจิทัล | 20,000,000 |
จำนวนจุดทศนิยม | 6 หลัก |
เจ้าของโทเคนดิจิทัล | บริษัท ที.อาร์. สยามภัณฑ์ จำกัด |
ผู้ออกโทเคนดิจิทัล | บริษัท ที อาร์ 1 จำกัด |
กฎหมายที่ใช้บังคับ | กฎหมายไทย |
การซื้อโทเคนดิจิทัลจากเจ้าของ
สามารถซื้อโทเคนจากเจ้าของ โดยการสั่งจองผ่านทาง website https://www.trblockchain.co เมื่อเจ้าของได้รับหลักฐานการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะทำการส่ง token ไปยัง hex address ที่ระบุ
การแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัล
ผู้ที่ถือครองโทเคนดิจิทัล มีสิทธิที่จะทำการส่งโทเคนดิจิทัลให้ผู้ใดก็ได้ โดยจะการส่งแต่ละครั้งจะมีการหักค่าดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 0.25 ของยอดที่ส่ง เช่น การส่ง 100 โทเคนดิจิทัล จะไปถึงปลายทางเป็นจำนวน 99.75 โทเคนดิจิทัล
อรรถประโยชน์ของโทเคนดิจิทัล
ผู้ที่ถือครองโทเคนดิจิทัล สามารถนำโทเคนดิจิทัลมาแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการกับ บริษัท ที อาร์ 1 จำกัด หรือ บริษัท ที.อาร์.สยามภัณฑ์ จำกัด ได้ ในอัตรา 1 โทเคนดิจิทัลต่อ 1 บาท โดยรายสินค้าหรือบริการที่สามารถถูกแลกเปลี่ยนได้จะถูกประกาศไว้ที่
https://www.trblockchain.co/token.php?symbol=TRC
เงื่อนไขพิเศษ (Exclusive Condition)
ผู้ที่ถือโทเคน ณ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีจะได้รับค่าตอบแทนที่คำนวณจากกำไรสุทธิ (Net Profit; NP) ที่ บริษัท ที อาร์ 1 จำกัด ทำได้ในรอบบัญชีก่อนหน้า โดยวิธีการคำนวณค่าตอบแทนที่ได้จะคำนวณผ่านสมการดังต่อไปนี้
การชำระเงินค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัล
ผู้ซื้อสามารถชำระค่าโทเคนดิจิตัลที่ราคา 1 บาทต่อโทเคนดิจิทัล โดยมีจำนวนสั่งซื้อขั้นต่ำ 100 โทเคน โดยมีวิธีการชำระเงินซื้อผ่าน QR Code โดยการโอนเงินสำหรับมูลค่าการจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของธนาคารที่ให้บริการเพื่อเข้าบัญชีธนาคารที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลกำหนด หรือ โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
ธนาคาร: ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี : บริษัท ที.อาร์.สยามภัณฑ์ จำกัด
เลขที่บัญชี: 735-2-91842-8
ทั้งนี้เงื่อนไขการชำระเงิน (รวมถึงจำนวนเงินสูงสุด) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละธนาคารผู้ให้บริการ
TRBLOCKCHAIN เป็น private blockchain ที่ประกอบด้วย Go Ethereum node ที่ทำการรับข้อมูล (orderer node) และ node ที่ทำการยืนยันข้อมูล (validator node) ด้วยการลงฉันทมติ (consensus) แบบ Proof of Authority (PoA) โดยผู้ที่ถือครอง validator node จะประกอบไปด้วย บริษัท ที อาร์ 1 จำกัด และพาท์ทเนอร์ตามที่ระบุใน https://www.trblockchain.co/validators
สาธารณชนสามารถส่ง transaction เข้าไปยัง BLOCKCHAIN ด้วย RPC API ที่ endpoint: https://block.trblockchain.co และ ChainID: 112 โดยการส่ง transaction นี้ สามารถใช้ Web3 Wallet เช่นที่ระบุใน https://www.trblockchain.co/wallet.php
การกระทำการทุกรายการที่ถูกบันทึกใน TRBLOCKCHAIN สามารถเรียกดูได้ผ่าน RPC API ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล สามารถตรวจดูการกระทำได้ผ่าน explorer ที่ https://explorer.trblockchain.co
3. แผนการดำเนินงานบริษัท ที.อาร์.สยามภัณฑ์ จำกัด ก่อตั้งโดย นายธีระศักดิ์ สถิตวิทยากุล โดยแรกเริ่มของการจัดตั้งทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการจัดการน้ำ และปรับปรุงคุณภาพน้ำ ต่อมาในปี 2014 บริษัทได้ขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยมุ้งเน้นการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning; ERP) ภายใต้เครื่องหมายการค้า TRCLOUD
ในปี 2021 ทางทีมงานได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ต่อการพัฒนาธุรกิจ จึงได้จัดตั้งบริษัท ที อาร์ 1 จำกัด เพื่อมุ่งเน้นในการพัฒนาระบบ Blockchain เพื่อให้บริการเป็น Blockchain as a Service ภายใต้แนวความคิดที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs และ ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ทางบริษัทมั่นใจว่าด้วย Synergy ที่เกิดขึ้นจากการ Leverage การให้บริการระบบ ERP การให้บริการ Digital Transformation รวมถึงการให้บริการ Business Process Improvement จะทำให้เกิดการ Disrupt โครงสร้างการจัดหากระแสเงินสดของ SMEs และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ
ทีมงานหลัก
เอกสารฉบับนี้ทำขึ้นเพื่ออธิบายถึงสถานะของโทเคนดิจิทัล TRCOIN ณ วันที่ที่ระบุ เอกสารฉบับนี้ไม่นับเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนไม่ว่ากรณีใดๆ เอกสารนี้ไม่ได้เป็นการแนะนำหรือโน้มน้าวให้ดำเนินการซื้อ ขาย หรือ ลงทุนในโทเคนดิจิทัลหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด การถือครองโทเคนดิจิทัลมิได้เป็นการถือหุ้นส่วนหรือทรัพย์สินของบริษัทแต่อย่างใด
บริษัทไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในกรณีที่ผู้อ่านรับข้อมูลที่อยู่ในเอกสารฉบับนี้ไปแล้ว นำไปตีความวิเคราะห์คาดการณ์หรือเผยแพร่ข้อมูลต่อ (ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากความประมาท ความคิดเห็นส่วนตัว ฯลฯ) แต่อย่างใด
บริษัทไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานระบบ TRBLOCKCHAIN ที่เกิดขึ้นจากชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่มิได้อยู่ในความควบคุมของบริษัท
ด้วยเงื่อนไขของระบบ blockchain การทำ transaction บน blockchain ในนามของบัญชี (Hexadecimal Address) ใดบัญชีหนึ่ง จะต้องกระทำโดยผู้ที่ถือครองบัญชีนั้นๆ เท่านั้น และ transaction ที่เกิดขึ้นแล้วบน blockchain ไม่สามารถถูกแก้ไขได้ ดังนั้น บริษัทไม่สามารถทำการกู้คืน หรือแก้ไข transaction ที่เกิดขึ้นแล้วได้ เช่น เมื่อผู้กระทำ transaction ระบุปลายทางที่จะส่งโทเคนดิจิทัลผิด ทางบริษัทไม่สามารถทำการ รวมไปถึงแต่ไม่จำกัดเพียง กู้โทเคนดิจิทัลคืน ยกเลิก transaction หรือ แก้ไข transaction นั้นๆ ได้
6. แหล่งข้อมูลอ้างอิง